วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ดื่มน้ำขิง คลายเครียดช่วยย่อยอาหาร

แนะนำวิธีคลายเครียดด้วยการดื่มน้ำขิง เพื่อผ่อนคลายที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเนื่องจากขิงเป็นสมุนไพรมากสรรพคุณที่เราสามารถหารับประทานได้ง่ายๆ แถม รสชาติก็เผ็ดร้อน กลิ่นก็หอมถูกปากถูกใจคนไทยอย่างเราๆ เสียด้วย

ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินมีลักษณะคล้ายมือหรือที่เรียกว่า “เหง้า” เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อนแต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับข่า ขมิ้น โดยขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง รสเผ็ดและมีกลิ่นหอม ยิ่งแก่จะยิ่งมีรสเผ็ดร้อน ลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม ดอก มีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้น ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบ ๆ ดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผล มีลักษณะกลมแข็ง

ขิงมีคุณสมบัติขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน หอบ ไอ ขับเสมหะ ซึ่งสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้

วิธีนำมาทำน้ำสมุนไพรรับประทาน
เพียงนำขิงแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อได้ หรือจะใช้ขิงสดก็จะช่วยย่อยอาหาร แก้อาการเมารถ โดยวิธีทำยารับประทานนำขิงสดมาทุบให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำมะนาวครึ่งช้อนโต๊ะ และเกลือประมาณหยิบมือ ดื่มทันทีจะช่วยลดแก๊ส แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติหรือจะจิบแก้ไอ ขับเสมหะก็ได้ นอกจากนี้การดื่มน้ำขิงร้อน ๆ ต้มหอม ๆ กลิ่นของมันยังช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดได้ดีอีกด้วย

ทั้งขิงแก่และขิงอ่อนยังให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอีกมากมาย เช่น พลังงาน โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ หากใครจะนำขิงไปปรุงอาหารเป็นขิงผัดเครื่องในไก่ หรือใส่ขิงรับประทานกับโจ๊กก็อร่อยแถมได้ประโยชน์เช่นกัน แต่ข้อควรระวังคือขิงแก่จะมีรสชาติเผ็ดร้อนกว่า ขิงอ่อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจมีอาการเผ็ดร้อนจนน้ำหูน้ำตาไหลได้

** ขิงสุขภาพดีต้องมีอายุ 11-12 เดือน และคุณค่าของขิงจะหมดไป หรือเน่าเสีย หากมีอายุมากกว่านี้
ข้อมูลจาก กลุ่มสารนิเทศและวิเทศสัมพันธ์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

กระเทียม รักษาโรคความดันโลหิตสูงได้




ในขณะที่เชื่อกันว่า กระเทียมมีประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ บัดนี้ นักวิจัยมหาวิทยาลัยอเดเลด ออสเตรเลีย ได้พบสรรพคุณอีกอย่างหนึ่งว่า สามารถรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วย

อาจารย์คาริน รีด แห่งคณะแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ได้พบว่า สารสกัดจากหัวกระเทียม แก่มีสรรพคุณลดความดันโลหิตลงได้ โดยเฉพาะจะใช้บำบัดรักษา ชาวเมืองจิงโจ้ที่เป็นโรคนี้กันอยู่มากถึง 3,700,000 คน จากการทดลองกับผู้ป่วย 50 ราย เป็นเวลา 3 เดือน ได้รู้ว่า ควรให้มันเป็นตัวช่วยของยารักษาโรคนี้ปกติได้ดี

“เพราะยังมีคนไข้คิด เป็นสัดส่วนใหญ่ ที่ยังกินยาประจำอยู่ และบางรายที่ใช้ยารักษาขนานต่างๆกันอีก 4 ขนาน แต่ความดันก็ยังไม่อาจควบคุมได้ ครั้นเมื่อเราให้กินสารสกัดของกระเทียมเสริม ปรากฏว่าลดความดันให้กลับมาอยู่ในระดับปลอดภัยได้ ดังนั้น กระเทียมจึงอาจเป็นวิธีการบำบัดให้เติมเต็ม ของการควบคุมความดันโลหิตที่ดีอย่างหนึ่ง”

คณะนักวิจัยได้พบว่า ผู้ที่มีความดันเลือดตัวบนเกิน 140 เมื่อให้กินแคปซูลสารสกัดกระเทียม วันละ 4 หลอด ทุกวัน ความดันจะลดได้โดยเฉลี่ย 10.2 มม.

อย่างไรก็ดี กระเทียมดิบ หรือกระเทียมที่ปรุงสุกแล้วและกระเทียมผง หามีสรรพคุณเท่าสารสกัดจากหัวกระเทียมแก่ไม่

น้ำกระเจี๊ยบแดง



ส่วนผสม
ดอกกระเจี๊ยบสด/แห้ง 20 กรัม (5 ดอก )
น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว )
น้ำเปล่า 200 กรัม (14 ช้อนคาว )
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 2 กรัม (2/5 ช้อนคาว )

วิธีทำ
- เอาดอกกระเจี๊ยบสดหรือแห้งก็ได้ ล้างน้ำทำความสะอาด นำใส่หม้อต้ม จนเดือด แล้วลดไฟลงอ่อนๆ เคี่ยวเรื่อยๆ จนน้ำเป็นสีแดงจนเข้มข้น
- เอาดอกกระเจี๊ยบขึ้นจากหม้อต้ม แล้วเอาน้ำเชื่อมและเกลือใส่ลงไป ปล่อยให้น้ำกระเจี๊ยบเดือด 1 นาที ยกลงชิมรสตามชอบ
- เอาขวดเปล่ามาล้างทำความสะอาด ต้มในน้ำเดือด 20 นาที นำน้ำกระเจี๊ยบแดงมากรอกแล้วปิดจุกให้แน่น แช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้นาน
- หรืออีกวิธีหนึ่ง...นำดอกกระเจี๊ยบมาตากแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง นำผงกระเจี๊ยบครั้งละ 1 ช้อนชา ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิกรัม)

หมายเหตุ : คุณค่าทางอาหาร : ให้วิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตา รองลงมามี แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

คุณค่าทางยา : ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต เป็นยาระบายอ่อนๆ และช่วยแก้อาการกระหายน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :

*กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
1.เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
2.ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
3.น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
4.ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
5.น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
6.ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
7.เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
8.เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
*ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
*ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
*ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
*เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง


อัญชัน
Blue Pea,Butterfly Pea

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea
ชื่อวงศ์ : Fabaceae
แดงชัน,เอื้องชัน

ส่วนที่ใช้
ดอก เมล็ด ใบ ราก
ส่วนประกอบ
มีสารอดีโนซีน (adenosine) สารแอฟเซลิน (afzelin)
สารอปาราจิติน (aparajitin) กรดอราไชดิก (arachidic acid)
สารแอสตรากาลิน (astragalin)
กรดชินนามิกไฮดรอกซี (cinnamic acid, 4-hydroxy)
สารเคอร์เซติน (quercetin) และสารซิโตสเตอรอล เป็นต้น
ดอกมีสารแอนโทไซอานิน
สรรพคุณและวิธีใช้

ดอก
รักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม ใช้ผสมอาหารให้สีม่วง
เช่น ข้าวดอกอัญชัน ขนมดอกอัญชัน เป็นต้น

เมล็ด
เป็นยาระบาย

ใบและราก
อัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย

ชนิดม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ
น้ำคั้นจากดอก ใช้ทาทำให้ผม หนวด เครา และคิ้วดกคนโบราณใช้ทาคิ้วเด็ก ทำให้คิ้วเด็กดกดำ ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด สีจากกลีบดอกสดมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานิน ใช้เป็นสารบ่งชี้ (indicator) แทนลิตมัส (lithmus)เมื่อเติมน้ำมะนาว (กรด) ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีขนมเช่น เรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู ใช้แต่งสีอาหารเช่น หุงข้าวผสมสีจากน้ำคั้นดอกอัญชัญได้สีน้ำเงินม่วงสวย รับประทานเป็นข้าวยำปักษ์ไต้ เป็นต้น เป็นไม้เลื้อย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด


ข้อมูลจากหนังสือ พลังดอกไม้ โดย รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ หน้า 273 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 น้ำดอกอัญชัน ส่วนผสมน้ำดอกอัญชัน 1 ถ้วยน้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะวิธีทำน้ำดอกอัญชันนำดอกอัญชันสด 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อเติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย ต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 นาทีแล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อต้มวิธีทำน้ำเชื่อมน้ำเปล่า 500 กรัม, น้ำตาลทราย 500 กรัมนำน้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม และน้ำผึ้งผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบอีกวิธีหนึ่งนำดอกอัญชันตากแห้งประมาณ 25 ดอกชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มแทนชา


ข้อแนะนำการดื่ม

1. ควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา

2. การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียว ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆอาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิด ที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้

3. การดื่มน้ำสมุนไพรร้อนๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหาร เสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่และอาจทำให้มีการดูดซึม สารก่อมะเร็ง จุลินทรีย์ ฯลฯ ได้ง่าย


ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากดอกอัญชันมีหลายประการดังนี้

1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีสารแอนโธไซยานินมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน

2. ใช้เป็นสีผสมอาหาร โดยเฉพาะในขนมไทยเช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้

3. สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชันมีประโยชน์ต่อสุขภาพเช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆเช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้นเพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้นในขณะนี้ ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับ ความสามารถของแอนโธไซยานินในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตาเช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น

ที่มา เว็บไซต์เส้นทางสุขภาพ yourhealthyguide

น้ำใบบัวบก



ใบบัวบก 500 กรัม
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
เกลือป่น 2 ช้อนชา
น้ำต้มสุก 6 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1.ตัดก้านใบบัวบกห่างจากโคนก้าน 2 นิ้ว ล้างให้สะอาดหลายๆ น้ำ แช่น้ำทิ้งไว้สักครู่
2.หันใบบัวบกหยาบๆ ใส่ลงในเครื่องปั่น เติมน้ำสุกลงครั้งละ 2 ถ้วยตวง ต่อใบบัวบก 150 กรัม ปั่นละเอียด เทลงในกระชอน ที่ปูผ้าขาวบางช้อนกัน 2 ชั้น ทำจนหมด ใส่เกลือป่น 2 ช้อนชา ลงในน้ำที่กรองไว้ แช่เย็นเก็บไว้
3.ทำน้ำเชื่อมโดยการใช้น้ำ 1 ถ้วยตวง และน้ำตาล 2 ถ้วยตวง ตั้งไฟทำน้ำเชื่อมเข้มข้น เสิร์ฟโดยการใส่น้ำเชื่อมเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะลงในน้ำใบบัวบก 1 แก้ว

ส่วนที่ใช้ : ใบ ทั้งต้นสด เมล็ด

สรรพคุณ :

ใบ มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน

ทั้งต้นสด
เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
ปวดศีรษะข้างเดียว
ขับปัสสาวะ
แก้เจ็บคอ
เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
ลดความดัน แก้ช้ำใน

เมล็ด
- แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ

เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน

ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน

เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน

เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว

น้ำใบเตยหอม






น้ำใบเตยหอม

ส่วนผสม
1. ใบเตยสด 3 ถ้วย
2. น้ำสะอาด 8 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
4. น้ำแข็ง


วิธีทำ
ใบเตยสดที่ไม่แก่มากเก็บใหม่ๆ ล้างทีละใบให้สะอาด แช่น้ำด่างทับทิมหรือน้ำเกลือ 10-15 นาที นำมาหันตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งใส่ลงในหม้อที่มีน้ำกำลังเดือด ต้มเคี่ยว 5-10 นาที เติมน้ำตาลทรายให้รสหวานจัด กรองเอากากออก ใบเตยที่หั่นแล้วส่วนที่สองปั่นให้ละเอียด โดยเติมน้ำ กรองเอากากออก เติมน้ำที่คั้นได้ซึ่งมีสีเขียวและกลิ่นหอมลงในหม้อที่เติมน้ำตาลและกำลังเดือด ชิมให้มีรสหวาน พอเดือดรีบยกลง เมื่อดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด

คุณค่าทางโภชนาการ
ใบเตยสดมีน้ำมันหอมระเหย รสหวาน หอม มัน และมีสีเขียวที่นิยมใช้แต่งสีอาหาร เป็นสารคลอโรฟิลล์

สรรพคุณ
ใบสด ต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น
ต้นและราก เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัยน้ำเบาพิการ


สรรพคุณของใบเตยที่คนรักสุขภาพไม่ควรมองข้าม
ใบเตยนอกจากจะช่วยให้ชุ่มชื่นลดอาการกระหายน้ำแล้ว ยังช่วยบำรุงเกี่ยวกับหัวใจด้วย
ผลงานการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ ซึ่งฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น ซึ่งมาจากการทดลองในห้องทดลอง นอกจากนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทด ลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงนับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาทำ เป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้

วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย
ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวานประโยชน์ทางยา เตยหอมมีรสเย็นหอมหวาน บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดย มากนิยมใช้น้ำใบเตยผสมอาหารคนไข้ทำให้เกิดกำลัง ลำต้นและราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวาน ใบ ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ลดกระหายน้ำ และอาจใช้ใบตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง

วิธีใช้
1.ใช้ใบสดตำ คั้นเอาน้ำ จะได้น้ำสีเขียวใช้นำมาผสมอาหาร จะช่วยให้อาหารมีสีสวย น่ารับประทานและมีกลิ่นหอมของใบเตย

2.ใช้ในในรูปของใบชา ชงกับน้ำร้อน หรือใช้ใบสดต้มกับน้ำจนเดือด เติมน้ำตาลเล็กน้อยก็ได้ ดื่มเป็นประจำช่วยบำรุงหัวใจ

3.นำส่วนต้นและราก ต้มกับเนื้อหรือใบไม้สัก จะช่วยรักษาโรคเบาหวาน

Source : teenee/ club.playpark.com(Image)

น้ำตะไคร้ เพื่อสุขภาพ




ส่วนผสม
ตะไคร้ทั้งต้นและใบ 1 กิโลกรัม
(ต้น 600 กรัม ใบ 400 กรัม)

น้ำเปล่า 4 ลิตร
น้ำตาลทราย 400-700 กรัม
เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
- ล้างตะไคร้ให้สะอาด ตัดเป็นท่อนสั้นๆ นำไปต้มกับน้ำเปล่า 4 ลิตร ประมาณ 5-10 นาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น เพื่อกันไม่ให้มีเศษตะกอนของใบตะไคร้

- ผสมน้ำตาลทราย เกลือแกง คนจนละลายหมด เพื่อความชุ่มคอชื่นใจ แล้วกรองอีกครั้ง ตั้งให้เดือด 1-2 นาที ถ้าชอบรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย ให้เติมน้ำมะนาว ยกลงกรอกใส่ขวดแก้วที่ล้างสะอาด คว่ำให้แห้ง ขณะร้อนอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ถ้ากรอกลงขวดพลาสติก ต้องลดให้อุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียส กรอกให้เต็มขวด ปิดฝาให้สนิท แล้วแช่น้ำเย็นทันที เมื่อขวดเย็น ให้รีบนำเข้าตู้เย็น สามารถเก็บไว้ได้ถึง 14 วัน

สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

Tips
มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือ ทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วนแล้วทานสัก 3 วัน ๆ ละ 1 ถ้วยแก้วก็จะหาย